วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

ตัวอย่างการจัดซื้อ


กรณีศึกษาระบบการควบคุมการจัดซื้อ ของบริษัท ฟูจิ


ยินดีต้อนรับ สู่ระบบการจัดซื้อออนไลน์ของ บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ บริษัท ฟู จิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญชวนผู้ผลิตวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในประเทศที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน ร่วมมืและติดต่อกับเราเพื่อป้อนให้กับเราตามรายการด้านล่าง
หากท่านสนใจจะเป็นหนึ่งในผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับเรา .. เพียงเลือกเปิดดูรายการด้านล่างนี้ ซึ่งเราจะมีการเพิ่มเติมรายการวัตถุดิบใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ หากท่านมั่นใจว่าสามารถผลิตวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ตามมาตรฐานและความต้องการของเรา และสนใจจะติดต่อนำเสนอมายังเรา ก็สามารถแจ้งความประสงค์ พร้อมรายละเอียดของท่านผ่าน ระบบออนไลน์ นี้ได้ทันที
รายการวัตถุดิบที่เราต้องการ
หากท่านสนใจจะเป็นหนึ่งในผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับเรา .. เพียงเลือกเปิดดูรายการด้านล่างนี้ ซึ่งเราจะมีการเพิ่มเติมรายการวัตถุดิบใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ หากท่านมั่นใจว่าสามารถผลิตวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ตามมาตรฐานและความต้องการของเรา และสนใจจะติดต่อนำเสนอมายังเรา ก็สามารถแจ้งความประสงค์ พร้อมรายละเอียดของท่านผ่าน ระบบออนไลน์ นี้ได้ทันที
รายละเอียดบริษัทของเราแสดงอยู่ในหน้า
โครงสร้าง

ELECTRIC
RUBBER AND INSULATION
INJECTION (PLASTIC)
INJECTION (FOAM)
PIPE
PRESS
PACKAGING
MISCELLANEOUS

ระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อ


การจัดซื้อระหว่างประเทศของ FGT
ธรรมเนียมปฎิบัติของ FGT นั้นต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทในประเทศ ฉะนั้นในการจัดซื้อวัตถุดิบต่างๆ เรามีความพยายามที่จะหาซื้อจากในประเทศ
ความเอาใจใส่ลูกค้า
เป้าหมายของเราคือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงสุดเพื่อลูกค้าของเรา ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กหรือใหญ่นั้นไม่สำคัญ เราจะพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์, ราคา และการจัดส่งเป็นสำคัญ และที่สำคัญคือจะต้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างสม่ำเสมอ
ความเอาใจใส่ผู้ผลิตวัตถุดิบ
เราเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ที่ดีอันยาวนานเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ เราจะสร้างความเชื่อมันและความเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งจะนำพาให้บริษัทและผู้ผลิตวัตถุดิบมีความเติบโตทางธุรกิจได้ด้วยกัน
ความเอาใจใส่ในสิ่งแวดล้อม
เราไม่เพียงต้องการที่จะผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งหมายรวมถึงผู้ผลิตวัตถุดิบให้เราด้วย
เราเป็นบริษัทระดับโลกซึ่งมีลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก และเราก็จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต ซึ่งเราต้องการบริษัทคู่ค้าที่จะร่วมกับเราก้าวไปสู่อนาคตด้วยกัน
ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมส่งออก
1. ระบบเอกสาร
1.1 กรณีสินค้าทั่วไป
ดำเนินพิธีการ โดยทางตัวแทนเดินเอกสารยึ่นเรื่อง ที่กรมศุลกากร และผู้ขายไม่ต้องการใช้ หรือไม่มีสิทธิประโยชน์ทางด้าน BOI หรือ 19 ทวิ จึงต้องเขียนใบคำร้อง ขอนำสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก พร้อมทั้งแนบ INVOICE ที่ใช้ VAT กับ 0% PACKING LIST ส่งให้เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ตรวจสอบเอกสาร ว่าสินค้าที่จะนำเข้าถูกต้อง ตามรายละเอียดที่แจ้งมาในเอกสาร หรือไม่ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะให้เลขที่ใบขนสินค้า (ENTRY NO.) และประทับตรา ผ่านพิธีการ และนำเอกสารมาดำเนินการ ตรวจปล่อยสินค้านำสู่บริษัท ผู้ซื้อ ในขั้นตอนของการตรวจปล่อยสินค้า จะมีการตรวจสอบ หมายเลขทะเบียนรถ จำนวนสินค้า และราคารวมตรงตาม INVOICE และ PACKING LIST หรือไม่

1.2 กรณีสินค้าเป็นเครื่องจักร
(MOULD + DIE + JIGS) ดำเนินพิธีการ โดยทางตัวแทน เดินเอกสารยื่นเรื่องให้ทางการนิคมฯ รับทราบ และแนบ กนอ 08 (ซื้อขายในประเทศ) หรือ กนอ 101 (นำเข้าจากต่างประเทศ) หลังจากนั้นก็มาดำเนินการที่กรมศุลกากร ตามข้อ 1.1

2. ระบบ EDI
ดำเนินพิธีการ โดยตัวแทนเอกสาร ยื่นเรื่องให้กรมศุลกากร โดยการ กรอกผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ EDI ที่สำนักงาน แล้ว จะผ่านไปสู่เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ในรายละเอียดของเอกสาร INVOICE จะต้องแสดงความจำนงค์ ในการใช้สิทธิประโยชน์ ของผู้ขาย ซึ่งการใช้สิทธิ จะมี 2 รูปแบบ ดังนี้คือ
1. ใช้สิทธิในการตัด BOI อย่างเดียว ประเภทใบขน คือ 211
2. ใช้สิทธิใน BIS-19 อย่างเดียว ประเภทใบขน คือ 219
3. ใช้สิทธิทั้งสองอย่าง คือ BOI และ BIS-19 ประเภทใบขน คือ 221


ตัวแทนเอกสาร ได้ระบุความต้องการ ในใบขนสินค้าขาออก หรือใบขน EDI อย่างชัดเจนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร จะตรวจสอบเอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว จะทำการออกเลขที่ใบขนสินค้า และประทับตราใบขน EDI พร้อมทั้ง แสดงคำสั่งตรวจปล่อย 2 ประเภทคือ (1) GREEN LINE (กรณีที่เป็นการซื้อขายในประเทศ) และ (2) RED LINE (กรณีที่เป็นการซื้อขายต่างประเทศ) แสดงในใบขนสินค้า หลังจากนั้นก็ PRINT OUT เอกสารมาดำเนินพิธีการ ตรวจปล่อย ตรวจสอบสินค้าก่อนนำเข้ายัง บริษัทผู้ซื้อ

เงื่อนไขการซื้อขาย
1.) ประเภท การสั่งซื้อภายในประเทศ
30 หลังจากเดือนที่สั่ง
2.) ประเภท การสั่งซื้อจากต่างประเทศ
30 วันหลังจาก B/L
90 วันหลังจาก B/L
120 วัน after B/L

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความหมายการควบคุมการจัดซื้อ

การควบคุมการจัดซื้อ(Procurement) เป็นกระบวนการจัดซื้อที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและช่วยให้แน่ใจว่าธุรกิจได้มาเฉพาะสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการ (only required goods and services) ที่ มีราคาที่ดีที่สุด (best price) ซื่งเป็นการช่วยให้ธุรกิจควบคุมต้นทุน และปรับปรุงผลกำไร

อ้างอิง

จัดทำโดย
นางสาวชณิตนันท์ สุวรรณพงศ์ ชั้น ปวส 1 ภาษาต่างประเทศธุรกิจ เลขที่ 2

แนวคิดของการควบคุมการจัดซื้อ

แนวคิดการควบคุมจัดซื้อ คือ กิจกรรมของผู้จัดซื้อโดยยึดหลัก 5 R’s พิจารณาเลือกซื้อสินค้าให้ได้
1. คุณสมบัติที่ถูกต้อง Right Quality
2. จำนวนที่ถูกต้อง Right Quantity
3. เลือกซื้อจากแหล่งที่ถูกต้อง Right Source
4. ราคาที่ถูกต้อง Right Price
5. ตรงตามความต้องการของลูกค้า Right Want

ภาพประกอบการจัดซื้อ











ประโยชน์ของการควบคุมการจัดซื้อ

ประโยชน์ของการควบคุมการจัดซื้อ
1.การลดเวลาการส่งมอบ (Lead Time) ของผู้จัดส่งวัตถุดิบ สิ้นค้าซึ่งต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
2.การลดจำนวน Supplier หรือคู่ค้า
3.การพัฒนาธุรกิจร่วมกับผู้ขายสินค้าให้ไปในทิศทางเดียวกัน
4.การพัฒนาระบบการส่งมอบของ Supplier ให้มีมาตรฐานเหมือนกัน
5.การเพิ่มประสิทธิภาพของอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง
6.การนำระบบ Lean Inventory เพื่อลดสินค้าคงคลังและเป็นการลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า/บริการให้กับองค์กร โดยการนำเอาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตประยุกต์ใช้กับวิธีเสนอราคาในลักษณะการเสนอราคา (Auction method) ตลอดจนการวางกลยุทธ์การแข่งขันราคา เช่น กำหนดเวลาเปิดปิดตลาดเสนอราคาเพื่อให้ซัพพลายเออร์เกิดการเสนอราคาแข่งขันกันในช่วงเวลาที่จำกัด การต่อเวลาการแข่งขันเสนอราคา ฯลฯ และกระบวนการสรรหาซัพพลายเออร์รายใหม่ จึงช่วยสร้างบรรยากาศการแข่งขันในการเสนอราคาระหว่างซัพพลายเออร์ทุกรายที่เข้าร่วมเสนอราคา และช่วยให้องค์กร ผู้ซื้อได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเสนอราคาแข่งขัน

หลักการควบคุมการจัดซื้อ

หลักการควบคุมการจัดซื้อจัดหาได้ 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่หนึ่ง, การปรับกระบวนการจัดซื้อภายในองค์กรเพื่อโอกาสทางการลดต้นทุนโดยการปรับเปลี่ยนจำนวนเจ้าหน้าที่และทรัพยากรอื่นๆ ให้มีความเหมาะสมตรงตามความต้องการที่แท้จริง และการคัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) รายใหม่ๆที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ, การควบคุมดูแลผู้จัดหาวัตถุดิบในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องและจัดการกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสายโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม แนวทาวที่สอง, ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้อย่างดีเยี่ยมสำหรับการที่จะลดต้นทุนและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยหลักการที่สำคัญของลีนที่กล่าวไว้ว่าให้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) อย่างต่อเนื่องโดยอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ในระยะยาวกับพวกเขาอย่างลึกซึ้งประหนึ่งเหมือนเป็นหุ้นส่วนขององค์กรของเรา

กระบวนการของการควบคุมการจัดซื้อ

กระบวนการของการสั่งซื้อประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
1) การรับคำสั่งซื้อจากหน่วยงานเกี่ยวข้องภายใน
2) จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ ( Suppliers ) ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีผลิตภัณฑ์อะไร ราคาและส่วนลดเป็นอย่างไร เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันประกอบการตัดสินใจ
3) ติดต่อ Supplier ที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว เพื่อตกลงทำเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็น แล้วจัดทำใบสั่งซื้อเพื่อยืนยันการสั่งซื้อไปยัง Supplier
4) ติดตามผลจากการสั่งซื้อว่า Supplier ได้รับหรือไม่ และตกลงขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้ามาตามกำหนดเวลาหรือไม่
5) ตรวจรับสินค้าหรืวัตถุดิบตามที่สั่งซื้อเมื่อมาถึงว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

ความสำคัญของการควบคุมการจัดซื้อจัดซื้อ

ความสำคัญของการควบคุมการจัดซื้อ
1.เพื่อควบคุมต้นทุน
2.เพื่อการควบคุมคุณภาพการผลิต
3.เพื่อการควบคุมคุณาพในการขนส่งให้ทันเวลา
4.เพื่อการวางแผนการผลิต
-สำหรับช่วงเทศกาลหรือการสั่งพิเศษ
-เพื่อย่นระยะเวลา
-ควบคุมอัตราการผลิต
และควรทราบไว้ด้วยว่าคุณภาพสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของวัตถุดิบที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิต คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้ายอมรับและง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตสินค้า
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของกิจการที่เป็นผลมาจากการจัดซื้อ มีส่วนหนึ่งที่มาจากลักษณะการต่อรองเพื่อหาราคาที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด ภายใต้คุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้าที่กำหนดจากผู้เสนอขาย (Suppliers) หลายๆ ราย ทำให้เกิดการประหยัดเกี่ยวกับต้นทุนและกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ลำดับความสำคัญของการจัดซื้อแตกต่างกันออกไปตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจขนาดย่อมที่เน้นการให้บริการรับทำบัญชี รายการสินค้าคงหรือวัสดุคงเหลือไม่ใช่รายการบัญชีที่มีบทบาท ธุรกิจประเภทนี้สนใจค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานมากกว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุสำนักงานหรือวัสดุอื่นๆ